เสี้ยววินาทีนอบน้อม “เจ้าคุณพระสินีนาฏ” พับผ้า ‘พระสุจหนี่’ ก่อนเข้ารับของที่ระลึก (ชมคลิป)

6 กรกฎาคม 2021 | ข่าวทั่วไป, ข่าวสาร
Loading...

จากเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 64 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ไปทรงสักการะพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร และทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดพิษณุโลก ณ ที่ทำการศาลจังหวัดพิษณุโลก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก

Loading...

ทั้งนี้ทางผู้ใช้เฟซบุ๊ก  Smart Srihaphalabhol   ได้เผยแพร่เกล็ดความรู้เกี่ยวกับ ผ้าพระสุจหนี่ ภายหลังจากที่เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี พับก่อนเข้ารับของที่ระลึก นับเป็นอีกหนึ่งช่วงวินาทีกับความนอบน้อมของ เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี

Loading...

พร้อมระบุข้อความว่า….   “เจ้าคุณพระสินีนาฏพับผ้า ” พระสุจหนี่ ” ขณะก่อนเข้ารับของที่ระลึก  นับว่าเป็นการถวายพระเกียรติเจ้านายชั้นสูงตามโบราณราชประเพณี

สำหรับ คำว่า พระสุจหนี่ ตามธรรมเนียมหลวงนั้นจะสงวนใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระบรมราชชนนนี พระรัชทายาทหรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงสัปตปฎลเศวตฉัตรขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้นเชื้อพระวงศ์พระองค์อื่น แม้ว่าจะทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเจ้าฟ้าลงมาแต่เมื่อไม่ได้รับพระราชทานสัปตปฎลเศวตฉัตรจากพระมหากษัตริย์แล้วก็ไม่ทรงมีสิทธิ์ที่จะประทับบนพระสุจหนี่ จะทรงประทับบนพรหมแดงเท่านั้นและผ้าปูโต๊ะเคียงจะเป็นผ้าแพรสีที่ไม่เหมือนกันผ้าเยียรบับ

Loading...

ซึ่งความตอนนี้ย่อมตีความรวมไปถึงสามัญชนทั่วไปไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินโดยยังหมายความรวมไปถึงการใช้ผ้าเยียรบับมาเป็นผ้าปูโต๊ะเคียงหรือโต๊ะข้าง ผ้ารองกราบแบบลักษณะพระแท่นทรงกราบ เป็นต้น แต่การใช้ผ้าเยียรบับในลักษณะการละคร เช่น ผ้าสำหรับการแสดงโขน หรือต่างๆ เหล่านี้เป็นการใช้แบบกำมะลอ จึงไม่ถือว่าเป็นการตีตนเสมอเจ้านาย แต่ถ้ามีการลาดผ้ารองเก้าอี้นั่ง หรือปูโต๊ะเคียงเพื่อรับรองแขกผู้มีเกียรติในงาน

อันนี้ผู้เขียนมองว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม เราคนไทยควรที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงธรรมเนียมนี้ให้อย่างถ่องแท้และเหมาะสมเพราะแม้กระทั่งการเดินผ่านพระราชอาสน์ที่ซึ่งคลุมพระสุจหนี่ไว้เราก็ต้องถวายความเคารพเสมอประหนึ่งว่าพระองค์ทรงประทับอยู่ ซึ่งประชาชนทั่วไปอาจจะไม่ทราบธรรมเนียมหลวงนี้ แต่ก็ถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่งดงามและเป็นการถวายพระเกียรติอันสูงสุด แม้การจะขยับย้ายพระเก้าอี้ พระราชอาสน์ เจ้าพนักงาน (วรอาสน์) ยังต้องถวายบังคมเสียก่อน”

ชมคลิป

ขอบคุณที่มา แฟนเพจ เรื่องน่ารู้ราชสำนักสยาม ,  Smart Srihaphalabhol

Loading...